ก่อนใช้ควรรู้ ใบมะกา มีประโยชน์และสรรพคุณ ช่วยแก้อาการอะไรบ้าง?

ประโยชน์และสรรพคุณ ใบมะกา ช่วยเรื่องอะไร

ใบมะกาเป็นชื่อสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ คุ้นหูคนไทยมาอย่างช้านาน เพราะด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค หลายๆด้าน ที่แพทย์แผนไทยส่วนใหญ่นิยมนำใบมะกามาเป็นส่วนผสมในการปรุงยาเพื่อรักษาโรคริดสีดวงทวาร เนื่องจากช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น และ สามารถสมานลำไส้ได้ดี

ใบมะกา คืออะไร?

สมุนไพรใบมะกา มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bridelia ovata Decne หรือชื่อสามัญ คือ พฤกษศาสตร์ และ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น กอง (เหนือ) ก้องแกบ (เชียงใหม่) ซำซา (เลย) มัดกา มาดกา (หนองคาย) ส่าเหล้า สิวาลา ส่าเหล้าต้น (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ยาบำรุงโลหิต แก้กระษัย เป็นยาระบายอ่อนๆ และ สมานลำไส้ดี ซึ่งแพทย์ส่วนมาใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคริดสีดวง จัดว่าสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE) มีถิ่นกำเนิด ในเอเชีย เขตร้อน

ใบมะกา มีลักษณะอย่างไร?

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักหน้าตาของใบมะกา สมุนไพรที่แพทย์แผนไทยนิยมนำมาใช้ในการปรุงยารักษาโรคต่างๆ ซึ่งต้นใบมะกาจะมีจุดเด่นและลักษณะที่สังเกตง่ายๆดังนี้

ต้นมะกา

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีความสูง 3-8 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกของต้นมะกา มีรสขมฝาด ใช้เป็นยาสมานลำไส้ และช่วยแก้กระษัย

ใบมะกา

ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปร่างของใบจะเป็นรูปรี รูปไข่กลับหัว ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ผิวใบเรียบ ท้องใบมีสีขาวนวล ใบมะกามีรสขมชื่น ใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อเป็นยาถอนพิษตานซาง บำรุงโลหิต ถอนพิษไข้ เป็นยาขับเสมหะ ช่วยขับลม และเป็นยาระบายอ่อนๆ

ดอกมะกา

ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กมาก เป็นแบบ แยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง 5 กลีบบานแล้วเป็นรูปดาวปลาย กลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง

ผลมะกา

ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ และจะมีเมล็ดขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปไข่อยู่ภายใน

ใบมะกา มีสรรพคุณอย่างไร?

ใบมะกาเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น

  • ใบมะกา ช่วยฟอกโลหิต ถอนพิษไข้ ถอนพิษตานซาง ลมชัก (นำใบสดมาย่างไฟก่อนต้ม เพื่อไม่ให้มีอาการไซ้ท้อง)
  • เปลือกต้นมะกา ใช้เป็นยาสมานลำไส้ ขับลม และ ช่วยแก้กระษัย
  • แก่น เป็นยาฟอกโลหิต แก้กระษัย ไตพิการ ขับเสมหะ และ เป็นยาระบายอ่อนๆ

องค์ประกอบทางเคมีของใบมะกา

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่าใบและกิ่งของมะกามีองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ Beta-sitosteryl hexadecanoate, hentriacontane, triacontanol, stigmasteryl hexadecanoate campesteryl hexadecanoate, friedelan-3-Beya-ol, Beta-sitosterol, Beta sitosterol-3-O-Beta-D-glucopyranoside, stigmasteryl-3-O-Beta-glucopyranoside, Campesteryl-3-O-Beta-D-glucopyranoside, stigmasterol, campesterol, ส่วนสารสกัดน้ำพบกรดอะมิโน(amino acid) หลายชนิดเช่น alanine, arginine, threonine และ isoleucine

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของใบมะกา

มีข้อมูลทางเภสัชวิทยา ของมะกาว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ และ จากผลการทดลองพบว่า การใช้ใบมะกาตากแห้งในปริมาณ 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด แช่ไว้ประมาณ 10-20 นาที แล้วดื่มก่อนนอน พบว่าฤทธิ์ระบายได้ผลดี กับผู้ป่วยท้องผูก และนอกจากนี้ใบมะกาสดยังมีการออกฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อไวรัส ออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งปอด ต้านเซลล์มะเร็งตับ และจากการศึกษายังพบว่าสารสกัดของใบมะกายังมีการออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบอีกด้วย แต่ก็อาจจะมีอาการข้างเคียงสำหรับบางคน คือ มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้

ประโยชน์ของใบมะกา ช่วยเรื่องอะไร?

สมุนไพรมะกา เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยรักษาอาการต่างๆได้อย่างหลากหลาย เช่น ตัวสมุนไพรมีฤทธิ์ช่วยรักษาอาการท้องผูก ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบายอ่อนๆไปในตัว ซึ่งจะช่วยปรับระบบการขับถ่ายให้ทำงานได้ดีขึ้น เพราะการที่ระบบขับถ่ายมีปัญหาอาจจะส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคริดสีดวงทวาร ลำไส้อักเสบ ซึ่งนอกจากใบมะกาจะช่วยปรับปรุงเรื่องระบบขับถ่ายแล้วยังช่วย ขับลม และสมานแผลในลำไส้ได้อีกด้วย

วิธีและปริมาณในการใช้ใบมะกา รักษาอาการต่างๆ

  • (แก่น) เป็นยาแก้กระษัยได้
  • (เปลือก, ต้น) เป็นยาแก้พิษกระษัย และ ต้นใช้กินเป็นยาสมานลำไส้
  • (ใบ) ช่วยรักษาโรคตานขโมย ซึ่งเป็นโรคพยาธิลำไส้อย่างหนึ่ง
  • (ทุกส่วนของต้น) เป็นยาช่วยบำรุงโลหิต
  • (ใบ) ช่วยบำรุงธาตุไฟ แก้โลหิตเป็นพิษ เป็นยาลดไข้ เป็นยาถ่ายพิษไข้ และ ถอนพิษตานซางในเด็ก
  • (แก่น) ช่วยฟอกโลหิต ขับเสมหะ ช่วยแก้ไตพิการ
  • (ราก, ใบ) ใช้ราก และ ใบเป็นยาลดไข้
  • (ใบ) นำมาต้มกับน้ำ แล้วดื่มเป็นยาขับเสมหะ และฟอกโลหิต ช่วยขับลม และช่วยย่อยอาหาร
  • (ใบ) ช่วยชักลมเบื้องสูงลงสู่เบื้อต่ำ
  • (ใบ) โดยการนำใบสดมาปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม แล้วนำมาชงกับน้ำเดือดใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน
  • (แก่น) ช่วยระบายอุจจาระธาตุ
  • (ใบ) ช่วยบำรุงน้ำเหลือง ช่วยบำรุงน้ำดี ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย และ ช่วยแก้เหน็บชา
  • (เปลือกต้น) ใช้เป็นยาสมานแผล

การแปรรูปของใบมะกา ในยารักษาริดสีดวง

สำหรับใบมะกานิยมนำมาตากแห้งแล้วบดให้ละเอียด เพื่อนำมาผสมกับตัวยาสมุนไพรอื่นๆ ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร แล้วบรรจุใบรูปแบบของแคปซูล เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทาน และ สะดวกต่อการพกพา สมุนไพรที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงได้แก่

  • เพชรสังฆาต รักษาโรคริดสีดวงทวาร ทั้งภายนอกและภายใน แก้ริดสีดวงทวารทั้งชนิดกลีบมะไฟและเดือยไก่
  • ใบมะขามแขก แก้อาการท้องผูกเป็นยาระบายอ่อนๆ ลดปัญหาท้องถูก และ อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
  • ใบมะกา ช่วยปรับระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น ขับลม ช่วยให้เลือดหยุดไหล และ ยังช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆได้ดี
  • อัคคีทวาร มีสรรพคุณช่วยให้ติ่งริดสีดวงฝ่อเล็กลง หัวริดสีดวงแห้งลง และ ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม : 10 สมุนไพรรักษาริดสีดวง ที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง? ช่วยเรื่องอะไร?

ข้อควรระวังในการใช้ใบมะกา มีอะไรบ้าง?

สำหรับการใช้สมุนไพรใบมะกา เพื่อ ให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน และ ไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ จะต้องมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับการทานใบมะกาสดอาจทำให้เกิดอาการ พะอืดพะอมคลื่นไส้ต้องนำมาปิ้งไฟให้กรอบก่อนจึงจะนำไปต้มเป็นยา ส่วนใบตากแห้งนำมาบดใส่แคปซูลเพื่อรับประทาน
  • เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร (หากมีความจำเป็นแนะนำให้อยู่ในการดูแลของแพทย์หรืออยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัชอย่างใกล้ชิด)
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ ปรึกษาแพทย์ ทุกครั้งก่อนใช้ยา
  • ใช้ยาตามขนาด หรือ ปริมาณ ที่แนะนำ (ห้ามใช้ยาเกินขนาด) เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

สรุปส่งท้ายบท

จะเห็นได้ว่าใบมะการมีสรรพคุณหลักในการ ช่วยขับลม สมานลำไส้ และ เป็นยาระบายอ่อนๆ ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการที่เกิดจากโรคริดสีดวงได้โดยตรง ดังนั้นจึงทำให้แพทย์แผนไทยหลายๆ สำนักนิยมนำมาเป็นส่วนผสมในการปรุงยารักษาโรคริดสีดวง เพื่อลดอาการท้องผูก ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ซึ่งเป็นการรักษาอาการของโรคได้โดยตรง

Similar Posts